ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
2.ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
3.ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553
ศาลยุติธรรมไทย
ประวัติศาลยุติธรรม
ปัจจุบันนี้ศาลและกระทรวงยุติธรรมได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน ทางด้าน การพัฒนาบุคลากรและการขยายศาลยุติธรรมให้กว้างขวางครอบคลุมคดีความทุกด้านตามความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพื่อประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมโดยเสมอหน้าและเท่าเทียมกันทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะอาชีพ และทุกท้องที่แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม การที่ศาลและกระทรวงยุติธรรมพัฒนาก้าวหน้ามาเช่นนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถาบันยุติธรรมอย่างแน่นแฟ้นตลอดมาโดยทรงเป็นองค์ตุลาการตั้งแต่สมัยโบราณกาลมา แม้ปัจจุบันศาลก็ดำเนินการภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์ ในโอกาสที่กระทรวงยุติธรรมได้สถาปนามาครบ 100 ปี (พ.ศ. 2535) ได้มีการจัดงานที่ระลึกขึ้นและถือเป็นโอกาสอันดีที่จะย้อนรอยไปสู่อดีต เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทั้งหลายได้ทราบถึงความเป็นมาของศาลไทยและกระทรวงยุติธรรมตลอดจนความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์ไทยกับกระบวนการยุติธรรม ย้อนร้อยอดีตไป 700 ปี เริ่มที่กรุงสุโขทัย
ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของประเทศมีศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา
ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลสูงชั้นกลางมี 4 ศาล ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีเขตอำนาจในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง และภาคตะวันออก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจในเขตพื้นที่ภาคตะวัตออกเฉียงเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคใต้
ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับฟ้องในเรื่องชั้นคดี ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง และศาลแขวงต่าง ๆ กับศาลชั้นต้นในจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดทางด้านการยุติธรรมนับตั้งแต่จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ก็ได้สร้างความเจริญให้แก่ศาลและวงการตุลาการของไทยในการพัฒนาก้าวหน้าควบคู่กันมาโดยตลอดจนกระทั่งเป็นศาลที่ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศในปัจจุบันนี้กระทรวงยุติธรรม ก็มีบทบาทในการสนับสนุนงานยุติธรรมของศาลด้านงบประมาณ งานด้านอาคารสถานที่ และงานธุรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เช่น จัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลางและสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลต่าง ๆ เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี ทำให้ลดจำนวนคดีลง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยิ่งจึงขยายงานคุมประพฤติ ตั้งเป็นกรมคุมประพฤติ ใน พ.ศ. 2535 จัดตั้งสำนักงานอนุญาโตตุลาการ เพื่อเผยแพร่การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการโดยไม่ต้องขึ้นศาลในด้านการพัฒนาที่ทำการของศาลนั้น กระทรวงยุติธรรมก็ได้ดำเนินการจัดตั้งที่ทำการศาลเพิ่มเติมตลอดมา เพื่อให้เพียงพอต่อการพิจารณาคดีและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในโอกาสครบ 100 ปีกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ. 2535 กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการเปิดอาคารที่ทำการใหม่ สำหรับศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลภาษีอากรกลาง จะเห็นได้ว่ากระทรวงยุติธรรมนั้นได้ปรับปรุงพัฒนาตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรองรับงานยุติธรรมของศาลได้ ใน พ.ศ. 2534 แบ่งเป็น 4 หน่วยงาน การบริหารงานราชการของกระทรวงยุติธรรมมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีของศาลเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วและเป็นธรรม อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันกับศาลยุติธรรม ดังนั้นศาลและกระทรวงยุติธรรม จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นตลอดระยะเวลา 100 ปี
ปัจจุบันนี้ศาลและกระทรวงยุติธรรมได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน ทางด้าน การพัฒนาบุคลากรและการขยายศาลยุติธรรมให้กว้างขวางครอบคลุมคดีความทุกด้านตามความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพื่อประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมโดยเสมอหน้าและเท่าเทียมกันทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะอาชีพ และทุกท้องที่แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม การที่ศาลและกระทรวงยุติธรรมพัฒนาก้าวหน้ามาเช่นนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสถาบันยุติธรรมอย่างแน่นแฟ้นตลอดมาโดยทรงเป็นองค์ตุลาการตั้งแต่สมัยโบราณกาลมา แม้ปัจจุบันศาลก็ดำเนินการภายใต้พระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์ ในโอกาสที่กระทรวงยุติธรรมได้สถาปนามาครบ 100 ปี (พ.ศ. 2535) ได้มีการจัดงานที่ระลึกขึ้นและถือเป็นโอกาสอันดีที่จะย้อนรอยไปสู่อดีต เพื่อให้ประชาชนชาวไทยทั้งหลายได้ทราบถึงความเป็นมาของศาลไทยและกระทรวงยุติธรรมตลอดจนความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์ไทยกับกระบวนการยุติธรรม ย้อนร้อยอดีตไป 700 ปี เริ่มที่กรุงสุโขทัย
ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดของประเทศมีศาลเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการฎีกา
ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลสูงชั้นกลางมี 4 ศาล ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีเขตอำนาจในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง และภาคตะวันออก ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจในเขตพื้นที่ภาคตะวัตออกเฉียงเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคเหนือ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีเขตอำนาจในเขตจังหวัดภาคใต้
ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับฟ้องในเรื่องชั้นคดี ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง และศาลแขวงต่าง ๆ กับศาลชั้นต้นในจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดทางด้านการยุติธรรมนับตั้งแต่จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ก็ได้สร้างความเจริญให้แก่ศาลและวงการตุลาการของไทยในการพัฒนาก้าวหน้าควบคู่กันมาโดยตลอดจนกระทั่งเป็นศาลที่ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศในปัจจุบันนี้กระทรวงยุติธรรม ก็มีบทบาทในการสนับสนุนงานยุติธรรมของศาลด้านงบประมาณ งานด้านอาคารสถานที่ และงานธุรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เช่น จัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลางและสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลต่าง ๆ เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี ทำให้ลดจำนวนคดีลง เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างยิ่งจึงขยายงานคุมประพฤติ ตั้งเป็นกรมคุมประพฤติ ใน พ.ศ. 2535 จัดตั้งสำนักงานอนุญาโตตุลาการ เพื่อเผยแพร่การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการโดยไม่ต้องขึ้นศาลในด้านการพัฒนาที่ทำการของศาลนั้น กระทรวงยุติธรรมก็ได้ดำเนินการจัดตั้งที่ทำการศาลเพิ่มเติมตลอดมา เพื่อให้เพียงพอต่อการพิจารณาคดีและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในโอกาสครบ 100 ปีกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ. 2535 กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการเปิดอาคารที่ทำการใหม่ สำหรับศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลภาษีอากรกลาง จะเห็นได้ว่ากระทรวงยุติธรรมนั้นได้ปรับปรุงพัฒนาตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรองรับงานยุติธรรมของศาลได้ ใน พ.ศ. 2534 แบ่งเป็น 4 หน่วยงาน การบริหารงานราชการของกระทรวงยุติธรรมมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีของศาลเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วและเป็นธรรม อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกันกับศาลยุติธรรม ดังนั้นศาลและกระทรวงยุติธรรม จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นตลอดระยะเวลา 100 ปี
รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ 1 (ครม. อภิสิทธิ์ 1)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล
รัฐบาลได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
การแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจที่มีต่อประชาชน ได้แก่ โครงการเรียนฟรี 15 ปี เบี้ยเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ เช็คช่วยชาติ ต้สกล้าอาชีพ ชุมชนพอเพียง ธงฟ้าช่วยประชาชน โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยค่าครองชีพ โครงการ 3 ลด 3 เพิ่มแก้ปัญหาว่างงาน โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร โครงการ อสม.เชิงรุก และโครงการช่วยเหลือ SMEs
สร้างความเชื่อมั่น ฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทย และสร้างความสมานฉันท์ ได้แก่ การฟื้นฟูความเชื่อมั่นประเทศไทย มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว การสร้างความสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ รถไฟฟ้า 5 สาย ถนนปลอดฝุ่น การปรับปรุงสถานีอนามัย และ 5 รั้วป้องกันยาเสพติด
แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ 2 ลด 3 เร่ง ยุทธศาสตร์รับ-รุกไข้หวัดใหญ่
ดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล
รัฐบาลได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ
การแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจที่มีต่อประชาชน ได้แก่ โครงการเรียนฟรี 15 ปี เบี้ยเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ เช็คช่วยชาติ ต้สกล้าอาชีพ ชุมชนพอเพียง ธงฟ้าช่วยประชาชน โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยค่าครองชีพ โครงการ 3 ลด 3 เพิ่มแก้ปัญหาว่างงาน โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร โครงการ อสม.เชิงรุก และโครงการช่วยเหลือ SMEs
สร้างความเชื่อมั่น ฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทย และสร้างความสมานฉันท์ ได้แก่ การฟื้นฟูความเชื่อมั่นประเทศไทย มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว การสร้างความสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ รถไฟฟ้า 5 สาย ถนนปลอดฝุ่น การปรับปรุงสถานีอนามัย และ 5 รั้วป้องกันยาเสพติด
แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ 2 ลด 3 เร่ง ยุทธศาสตร์รับ-รุกไข้หวัดใหญ่
ดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชน
รัฐสภาไทย
รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสองส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสองส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา
ประวัติการ กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหารในประเทศไทย
การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475" คณะราษฎร " ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนบางกลุ่ม จำนวน 99 นาย มีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ปวงชนชาวไทยอยู่ก่อนแล้ว จึงทรงยินยอมตามคำร้องขอของคณะราษฎร ที่ทำการปฏิวัติในครั้งนั้น
รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเองในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ
กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ
กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478
ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา
กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481
ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490
คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย
กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491
จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง
รัฐประหาร 6 เมษายน 2491
คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป
กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491
พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ
กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492
นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง
กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494
นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ
รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง
กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497
นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี
รัฐประหาร 16 กันยายน 2500
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501
เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514
จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี
ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516
การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ
ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว
กบฎ 26 มีนาคม 2520
พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520
กบฎ 1 เมษายน 2524
พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้
การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528
พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549มีพล.อ.สนธิ บุญยตกรินทรเป็นหัวหน้า
รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พร้อมด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือนคณะหนึ่ง ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งซึ่งเป็นการริดรอนอำนาจภายในคณะราษฏร ที่มีการแตกแยกกันเองในส่วนของการใช้อำนาจ ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ใช้อำนาจในทางที่ละเมิดต่อกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและประเทศชาติ เช่น ให้มีศาลคดีการเมือง ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการรัฐสภา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีอิสระอย่างเต็มที่ การประกาศทรัพย์สินของนักการเมืองทุกคนทุกตำแหน่ง การออกกฎหมายผลประโยชน์ขัดกัน ฯลฯ
กบฏบวชเดช 11 ตุลาคม 2476
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อการเพื่อล้มล้างอำนาจของรัฐบาล โดยอ้างว่าคณะราษฎรปกครองประเทศไทยโดยกุมอำนาจไว้แต่เพียงแต่เพียงผู้เดียว และปล่อยให้บุคคลกระทำการหมิ่นองค์พระประมุขของชาติ รวมทั้งจะดำเนินการปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามแนวทางของนายปรีดี พนมยงค์ คณะผู้ก่อการได้ยกกำลังเข้ายึดดอนเมืองเอาไว้ ฝ่ายรัฐบาลได้แต่งตั้ง พ.ท.หลวง พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม ออกไปปราบปรามจนประสบผลสำเร็จ
กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478
ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา
กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481
ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490
คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย
กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491
จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง
รัฐประหาร 6 เมษายน 2491
คณะนายทหารซึ่งทำรัฐประหารเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 บังคับให้นายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แล้วมอบให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งต่อไป
กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491
พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ
กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492
นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง
กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494
นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ
รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน 2494
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจตนเอง เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาได้ ต้องใช้วิธีการให้ตำแหน่งและผลประโยชน์ต่างๆ แก่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอยู่เสมอ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น มีวิธีการที่เป็นประชาธิปไตยมากเกินไป จึงได้ล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเสีย พร้อมกับนำเอารัฐธรรมนูญฉบับลงวันที่ 10 ธันวาคม 2475 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง
กบฏสันติภาพ 8 พฤศจิกายน 2497
นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) และคณะถูกจับในข้อหากบฏ โดยรัฐบาลซึ่งขณะนั้นมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการรวมตัวกันเรี่ยไรเงิน และข้าวของไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนั้นกำลังประสบกับความเดือดร้อน เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างหนัก เป็นการดำเนินการที่เป็นภัยต่อรัฐบาล นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ กับคณะถูกศาลตัดสินจำคุก 5 ปี
รัฐประหาร 16 กันยายน 2500
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501
เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514
จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี
ปฏิวัติโดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516
การเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มหนึ่งได้แผ่ขยายกลายเป็นพลังประชาชนจำนวนมาก จนเกิดการปะทะสู้รบกันระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เป็นผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร นายักรัฐมนตรี จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ
ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน 6 ตุลาคม 2519
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว
กบฎ 26 มีนาคม 2520
พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520
กบฎ 1 เมษายน 2524
พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้
การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน 2528
พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549มีพล.อ.สนธิ บุญยตกรินทรเป็นหัวหน้า
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการปะทะรุนแรงที่เสียเลือดเนื้อได้
ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม
หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ
หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น.
หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น.
หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที
หน่วยที่ 4 เป็นฝ่ายที่เรียกกันว่า "มันสมอง" มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว
แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน
ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม
หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ
หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น.
หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น.
หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที
หน่วยที่ 4 เป็นฝ่ายที่เรียกกันว่า "มันสมอง" มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว
แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน
เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)
ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ ทางการสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสมาคม "อานาคิช" (Anarchist) มีสมาชิกประมาณ ๘๐๐ - ๑,๐๐๐ คน มีจุดมุ่งหมายวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองลดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ลงมาอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนพระมหากษัตริย์อังกฤษหรือพระมหาจักรพรรดิญี่ปุ่นทางการจึงเข้าจับกุมตัวการสำคัญในการคบคิดวางแผนการในตอนเช้าวันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ (ร.ศ. ๑๓๐)ผู้ถูกจับกุมชุดแรกคือ นายร้อยเอกขุนทวยหารพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ผู้บังคับกองพยาบาลโรงเรียนทหารบก ถูกจับที่โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม, นายร้อยโทจรูญ ณ บางช้าง สังกัดกรมพระธรรมนูญทหารบก ถูกจับที่บ้านถนนสุรศักดิ์ และนายร้อยตรีเจือ ศิลาอาศน์ สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ ถูกจับที่กรมเสนาธิการทหารบกการจับกุมตัวทหารผู้ก่อการกำเริบครั้งนี้ทำการหลายระลอก เฉพาะในวันแรกคือวันที่ ๑ มีนาคม จับกุมตัวนายทหารบกที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีที่ค้นพบจากบ้านขุนทวยหารพิทักษ์ ๕๘ คน เมื่อจับกุมมาได้ก็ให้มีการเขียนคำชี้แจงแบบซัดทอด ทำให้มีการขยายวงการสืบสวนออกไป และภายใน ๒ วัน ทางการก็จับกุมตัวผู้ต้องหาซัดทอดกันไปมาได้กว่าร้อยคน ส่วนผู้ต้องสงสัยแต่ยังไม่มีหลักฐานจับกุมเพียงพอก็ได้แต่งคนสะกดรอยเพื่อหาหลักฐานมัดตัวต่อไป เพราะหากหลักฐานไม่แน่นพอแล้วไปจับกุม สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ ทรงเกรงว่า จะทำให้ผู้คนแตกตื่นตกใจไปมาก
การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา เพื่อให้ขุนนาง ข้าราชการ ได้คุ้นเคยกับการปกครองในรูปแบบใหม่ ทำให้ขุนนาง ข้าราชการได้รู้จักการแสดงความคิดเห็น รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มี 2 สภา คือ
1)สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชการแผ่นดิน การออกกฎหมายต่างๆ
2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชการต่างๆ
2.การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ใน พ.ศ.2430 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากดูงานการปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่ 6 กรม เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว 6 กรม เป็น 12 กรม คือ
1)กรมมหาดไทย
2)กรมพระกลาโหม
3)กรทท่า
4)กรมวัง
5)กรมเมือง
6)กรมนา
7)กรมพระคลัง
8)กรมยุติธรรม
9)กรมยุทธนาธิการ
10)กรมธรรมการ
11)กรมโยธาธิการ
12)กรมมุรธาธิการ
ใน พ.ศ.2435 กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง และโปรดฯ ให้ยกเลิกการปกครองระบบจตุสดมภ์ และใน พ.ศ.2437 ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกัน
3.การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค มีการปกครองตามระบบเทศาภิบาล ซึ่งได้ระบุไว้ใน ประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.113 โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็น 1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการมณฑลละ 1 คน ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลไม่ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะว่ารัฐบาลประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น การขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน รัฐบาลกลางขาดงบประมาณทำให้รัฐบาลต้องเร่งรัดภาษี
4.การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องการให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกคือสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุครสาคร ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2448
1)สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาในเรื่องราชการแผ่นดิน การออกกฎหมายต่างๆ
2)สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนพระองค์เกี่ยวกับราชการต่างๆ
2.การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ใน พ.ศ.2430 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเสด็จกลับจากดูงานการปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ได้ทรงทำบันทึกเสนอต่อรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงพิจารณาที่จะให้มีการปฏิรูปการปกครอง จึงได้ทรงจัดตั้งกรมขึ้นใหม่ 6 กรม เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้ว 6 กรม เป็น 12 กรม คือ
1)กรมมหาดไทย
2)กรมพระกลาโหม
3)กรทท่า
4)กรมวัง
5)กรมเมือง
6)กรมนา
7)กรมพระคลัง
8)กรมยุติธรรม
9)กรมยุทธนาธิการ
10)กรมธรรมการ
11)กรมโยธาธิการ
12)กรมมุรธาธิการ
ใน พ.ศ.2435 กรมเหล่านี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง และโปรดฯ ให้ยกเลิกการปกครองระบบจตุสดมภ์ และใน พ.ศ.2437 ได้มีพระราชบัญญัติแยกอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมและมหาดไทยออกจากกัน
3.การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค มีการปกครองตามระบบเทศาภิบาล ซึ่งได้ระบุไว้ใน ประกาศจัดปันหน้าที่ระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.113 โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็น 1 มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้บังคับบัญชาการมณฑลละ 1 คน ซึ่งต้องขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมืองเป็นระบบเทศาภิบาลไม่ได้ดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะว่ารัฐบาลประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น การขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน รัฐบาลกลางขาดงบประมาณทำให้รัฐบาลต้องเร่งรัดภาษี
4.การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องการให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล สุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกคือสุขาภิบาลตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุครสาคร ตั้งขึ้นใน พ.ศ.2448
ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อนวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา เมืองขึ้นของชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือพระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง จึงได้ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี
หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า “ พระบรมราชาธิราชที่ ๔ " (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุงธนบุรีอยู่ ๑๕ ปี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้๑.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้ กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้
๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย
๓.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี
ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก
ด้านการปกครอง
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อย ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่ ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมายชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน ๓ ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามทที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็ว
ด้านเศรษฐกิจ
ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสิ นมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้นบ้านเมืองดำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยากยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก ทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีกถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูก พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ๒ ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ
การสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง พระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ ได้ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัยผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงะนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้ การจราจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั่งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากในกรุงธนบุรีและมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระชนมายุได้ 45 พรรษา
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย
๓.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี
ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก
ด้านการปกครอง
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อย ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่ ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมายชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน ๓ ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามทที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็ว
ด้านเศรษฐกิจ
ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสิ นมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้นบ้านเมืองดำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยากยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก ทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีกถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูก พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ๒ ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ
การสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง พระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ ได้ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัยผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงะนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้ การจราจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั่งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากในกรุงธนบุรีและมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระชนมายุได้ 45 พรรษา
วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553
การปกครองสมัยอยุธยา
กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎกรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)
อาณาเขต
กรุงศรีอยุธยา ที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงก่อตั้งในปี พ.ศ.1893 นั้นมีทำเลที่ตั้งที่ดีมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และในด้านการค้า กล่าวคือ ตัวเมืองอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกและด้านใต้ ดังนั้นเพียงแต่ขุดลำคูขื่อหน้าทางด้านตะวันออกเชื่อมแม่น้ำเหล่านั้น อยุธยาก็กลายเป็นเมืองเกาะที่มีลำน้ำรอบครบทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเช่นนี้นับเป็นปราการธรรมชาติอันมั่นคงช่วยป้องกันการโจมตีของข้าศึกเป็นอย่างดี นอกจากนั้นการตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มทำให้ช่วงระยะระหว่าง เดือนกันยายน - ธันวาคมของทุกปี จะมีน้ำหลากท่วมรอบกรุงศรีอยุธยาเป็นบริเวณกว้าง เท่ากับเป็นการบังคับให้ฝ่ายข้าศึกมีโอกาสล้อมโจมตีกรุงศรีอยุธยาได้เพียงปีละ 8 เดือนเท่านั้นและเมื่อล้อมอยู่ถึงหน้าน้ำหลากแล้ว ก็จำต้องยกทัพกลับไปโดยปริยาย
ทำเลที่ตั้งเช่นนี้นอกจากจะให้ผลดีในด้านยุทธศาสตร์แล้วยังทำให้อยุธยา สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไป เช่นสุโขทัยได้สะดวกโดยอาศัย แม่นำเจ้าพระยาและสาขา นอกจากนั้นการที่อยุธยาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ลึกเข้าไป ในผืนแผ่นดินแต่ก็ไม่ไกลจากปากน้ำจนเกินไป จึงทำให้อยุธยาสามารถติดต่อ ค้าขายทางเรือกับต่างประเทศได้อย่างสะดวก รวมทั้งสามารถทำหน้าที่เป็นพ่อค้า คนกลางติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้าจีน ญี่ปุ่น กับพวกพ่อค้าต่างชาติอื่นๆ อยุธยา จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
นอกจากทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และด้านการค้า แล้วมีข้อน่าสังเกตว่าตั้งแต่แรกก่อตั้งอาณาจักร อยุธยามีพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านกำลังทางทหารซึ่งพื้นฐานที่ดีทั้ง 3 ประการนี้มีส่วนอย่างมากในการช่วยเกื้อหนุน ให้อยุธยาสามารถพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองสร้างความเป็นปึกแผ่นได้อย่างรวดเร็ว จนก้าวเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งทางตอนบนและตอนล่าง
สภาพเศรษฐกิจและสังคม
รายได้ของรัฐ
สันนิฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนต้น รัฐบาลคงมีรายได้ประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านขนอน ทางบกทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าของราษฎรโดยเก็บชักส่วนสินค้าไว้ในอัตรา 1 ชัก 10หรือเก็บเป็นเงินตามอัตราขนาดยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน
อากร คือ การเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ ที่มิใช่การค้าขายโดยตรง เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ที่ทำนาจะเสียหางข้าวให้แก่รัฐและจะต้องนำมาส่งเอง หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่นอนุญาตให้เก็บของป่า จับปลาในน้ำ และต้มกลั่นสุรา เป็นต้น อัตราคงที่ประมาณ 1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้
ส่วย คือ เครื่องราชบรรณาการที่ได้จากประเทศราช
ฤชา คือ เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเฉพาะรายในกิจการที่ทางราชการจัดให้เช่นการออกโฉนดตราสารหรือเงินปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องชดใช้ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐบาลจะเก็บให้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เงินพินัยหลวง"
รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไร ภาษีสินค้าขาเข้า และภาษีสินค้าขาออก
การปกครองแบบจตุสดมภ์
ลักษณะทางสังคมของอยุธยาประกอบด้วยชนชั้นต่างๆตั้งแต่จุดสุดยอดถึงพื้นฐานของสังคม 6 ชนชั้น คือ
1. พระมหากษัตริย์ ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศทุกด้านเช่นในทางการเมืองทรงเป็นเจ้าชีวิตและเป็นประมุขของอาณาจักรและมีอำนาจเหนือชีวิตของทุกคนในสังคม ในทางสังคมทรงเป็นผู้นำสังคม และเป็นองค์อุปถัมภ์ของศาสนาพุทธในแง่สถาบันพระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะแตกต่างจากสุโขทัย เพราะอยุธยาเป้นอาณาจักรที่กว้างขวาง จึงต้องเป็นสถาบันที่เข้มแข็งเป็นที่เกรงขามของประชาชน ด้วยเหตุนี้อยุธยาจึงรับคติเทวราชาเข้ามา ทำให้กษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้า 2. เจ้านาย ประกอบด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและเชื้อพระวงศ์พวกเจ้านายที่จะช่วยเหลือราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์มีบัญชา ซึ่งยศของเจ้านายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
สกุลยศ เป็นยศที่เจ้านายแต่ละองค์ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด
อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานเรื่องจากได้รับราชการแผ่นดิน
3. ขุนนาง ชนชั้นสูงที่รับราชการกับพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นชนส่วนน้อยในสังคมที่มีโอกาส เข้ารับราชการมักเป็นสังคมปิดเนื่องจากมีการสืบทอดตำแหน่งในวงศ์ตระกูลแลแหล่งที่มาของอำนาจ ขุนนางคือ กำลังคนที่อยู่ในความควบคุม ที่เรียกกันว่า ไพร่หลวง
4. พระสงฆ์ คือบุคคลที่บวชในพุทธศาสนาทุกคนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างชนชั้นปกครองกับพวกไพร่หรือสามัญชน พระสงฆ์ประกอบด้วย สมาชิก 2 พวก คือ พวกที่บวชตลอดชีวิตและพวกที่บวชชั่วคราวซึ่งชนชั้นไหนก็สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้
5. ไพร่ เป็นเสรีชนที่ต้องให้แรงงานแก่รัฐบาลและถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือเจ้านาย ซึ่งรวมเรียกว่ามูลนาย ไพร่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของสังคม มีประมาณ 80-90% ของคนในสังคมอยุธยา
6. ทาส คือ ชนกลุ่มน้อยของสังคมที่ได้จากการกวาดต้อนผู้คนของเมืองที่แพ้สงครามหรือไพร่ที่ขายตัวเมื่อยากจนลง ทาสสมัยอยุธยาแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได 2 ประเภท คือ
- ทาสที่สามารถซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่
- ทาสที่ซื้ออิสรภาพอขงตนเองไม่ได้ คือ ทาสเชลยศึกหรือลูกทาสเชลย
น.ส.ฟาลิดา อาจหาญ เลขที่ 18 ม.4/5
ที่มา : http://www.dopa.go.th/history/ayud.htm
อาณาเขต
กรุงศรีอยุธยา ที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงก่อตั้งในปี พ.ศ.1893 นั้นมีทำเลที่ตั้งที่ดีมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และในด้านการค้า กล่าวคือ ตัวเมืองอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านตะวันตกและด้านใต้ ดังนั้นเพียงแต่ขุดลำคูขื่อหน้าทางด้านตะวันออกเชื่อมแม่น้ำเหล่านั้น อยุธยาก็กลายเป็นเมืองเกาะที่มีลำน้ำรอบครบทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเช่นนี้นับเป็นปราการธรรมชาติอันมั่นคงช่วยป้องกันการโจมตีของข้าศึกเป็นอย่างดี นอกจากนั้นการตั้งอยู่ในบริเวณที่ลุ่มทำให้ช่วงระยะระหว่าง เดือนกันยายน - ธันวาคมของทุกปี จะมีน้ำหลากท่วมรอบกรุงศรีอยุธยาเป็นบริเวณกว้าง เท่ากับเป็นการบังคับให้ฝ่ายข้าศึกมีโอกาสล้อมโจมตีกรุงศรีอยุธยาได้เพียงปีละ 8 เดือนเท่านั้นและเมื่อล้อมอยู่ถึงหน้าน้ำหลากแล้ว ก็จำต้องยกทัพกลับไปโดยปริยาย
ทำเลที่ตั้งเช่นนี้นอกจากจะให้ผลดีในด้านยุทธศาสตร์แล้วยังทำให้อยุธยา สามารถติดต่อค้าขายกับอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไป เช่นสุโขทัยได้สะดวกโดยอาศัย แม่นำเจ้าพระยาและสาขา นอกจากนั้นการที่อยุธยาตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำที่ลึกเข้าไป ในผืนแผ่นดินแต่ก็ไม่ไกลจากปากน้ำจนเกินไป จึงทำให้อยุธยาสามารถติดต่อ ค้าขายทางเรือกับต่างประเทศได้อย่างสะดวก รวมทั้งสามารถทำหน้าที่เป็นพ่อค้า คนกลางติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้าจีน ญี่ปุ่น กับพวกพ่อค้าต่างชาติอื่นๆ อยุธยา จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ
นอกจากทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมมาก ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และด้านการค้า แล้วมีข้อน่าสังเกตว่าตั้งแต่แรกก่อตั้งอาณาจักร อยุธยามีพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และด้านกำลังทางทหารซึ่งพื้นฐานที่ดีทั้ง 3 ประการนี้มีส่วนอย่างมากในการช่วยเกื้อหนุน ให้อยุธยาสามารถพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองสร้างความเป็นปึกแผ่นได้อย่างรวดเร็ว จนก้าวเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งทางตอนบนและตอนล่าง
สภาพเศรษฐกิจและสังคม
รายได้ของรัฐ
สันนิฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนต้น รัฐบาลคงมีรายได้ประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านขนอน ทางบกทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าของราษฎรโดยเก็บชักส่วนสินค้าไว้ในอัตรา 1 ชัก 10หรือเก็บเป็นเงินตามอัตราขนาดยานพาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน
อากร คือ การเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ ที่มิใช่การค้าขายโดยตรง เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ที่ทำนาจะเสียหางข้าวให้แก่รัฐและจะต้องนำมาส่งเอง หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่นอนุญาตให้เก็บของป่า จับปลาในน้ำ และต้มกลั่นสุรา เป็นต้น อัตราคงที่ประมาณ 1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้
ส่วย คือ เครื่องราชบรรณาการที่ได้จากประเทศราช
ฤชา คือ เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเฉพาะรายในกิจการที่ทางราชการจัดให้เช่นการออกโฉนดตราสารหรือเงินปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องชดใช้ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐบาลจะเก็บให้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เงินพินัยหลวง"
รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไร ภาษีสินค้าขาเข้า และภาษีสินค้าขาออก
การปกครองแบบจตุสดมภ์
ลักษณะทางสังคมของอยุธยาประกอบด้วยชนชั้นต่างๆตั้งแต่จุดสุดยอดถึงพื้นฐานของสังคม 6 ชนชั้น คือ
1. พระมหากษัตริย์ ทรงมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศทุกด้านเช่นในทางการเมืองทรงเป็นเจ้าชีวิตและเป็นประมุขของอาณาจักรและมีอำนาจเหนือชีวิตของทุกคนในสังคม ในทางสังคมทรงเป็นผู้นำสังคม และเป็นองค์อุปถัมภ์ของศาสนาพุทธในแง่สถาบันพระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะแตกต่างจากสุโขทัย เพราะอยุธยาเป้นอาณาจักรที่กว้างขวาง จึงต้องเป็นสถาบันที่เข้มแข็งเป็นที่เกรงขามของประชาชน ด้วยเหตุนี้อยุธยาจึงรับคติเทวราชาเข้ามา ทำให้กษัตริย์อยู่ในฐานะเทพเจ้า 2. เจ้านาย ประกอบด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและเชื้อพระวงศ์พวกเจ้านายที่จะช่วยเหลือราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์มีบัญชา ซึ่งยศของเจ้านายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
สกุลยศ เป็นยศที่เจ้านายแต่ละองค์ได้รับมาตั้งแต่กำเนิด
อิสริยยศ เป็นยศที่ได้รับพระราชทานเรื่องจากได้รับราชการแผ่นดิน
3. ขุนนาง ชนชั้นสูงที่รับราชการกับพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นชนส่วนน้อยในสังคมที่มีโอกาส เข้ารับราชการมักเป็นสังคมปิดเนื่องจากมีการสืบทอดตำแหน่งในวงศ์ตระกูลแลแหล่งที่มาของอำนาจ ขุนนางคือ กำลังคนที่อยู่ในความควบคุม ที่เรียกกันว่า ไพร่หลวง
4. พระสงฆ์ คือบุคคลที่บวชในพุทธศาสนาทุกคนเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างชนชั้นปกครองกับพวกไพร่หรือสามัญชน พระสงฆ์ประกอบด้วย สมาชิก 2 พวก คือ พวกที่บวชตลอดชีวิตและพวกที่บวชชั่วคราวซึ่งชนชั้นไหนก็สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้
5. ไพร่ เป็นเสรีชนที่ต้องให้แรงงานแก่รัฐบาลและถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือเจ้านาย ซึ่งรวมเรียกว่ามูลนาย ไพร่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ของสังคม มีประมาณ 80-90% ของคนในสังคมอยุธยา
6. ทาส คือ ชนกลุ่มน้อยของสังคมที่ได้จากการกวาดต้อนผู้คนของเมืองที่แพ้สงครามหรือไพร่ที่ขายตัวเมื่อยากจนลง ทาสสมัยอยุธยาแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได 2 ประเภท คือ
- ทาสที่สามารถซื้ออิสรภาพของตนเองคืนได้ เรียกว่า ทาสสินไถ่
- ทาสที่ซื้ออิสรภาพอขงตนเองไม่ได้ คือ ทาสเชลยศึกหรือลูกทาสเชลย
น.ส.ฟาลิดา อาจหาญ เลขที่ 18 ม.4/5
ที่มา : http://www.dopa.go.th/history/ayud.htm
การปกครองสมัยสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรักทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครอง
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดาจะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยยาก
อาณาเขต
สุโขทัย ตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจากนครธมหรือ พระนครหลวงราชธานีของอาณาจักรเขมรมากพอควรอำนาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มาถึงอาณาบริเวณนี้ จึงมีไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึงมีโอกาสที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนอกจากนั้น ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากำลังแผ่ขยายตัวและเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรด้วยการทำสงครามกับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ
การที่ต้องพะวงกับการทำสงคราม ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรเขมรในแง่ยุทธศาสตร์เพราะสามารถเข้าถึง กรุงยโสธรหรือนครธมเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดายทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ เมื่อไม่มีทางเลือกพระองค์ก็ต้องทรงสนับสนุนการก่อร่างสร้างเมืองของคนไทยกลุ่มนี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กำลังจะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเขมรในลักษณะของผู้ที่พึ่งพิง ดังจะเห็นได้จากการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีพระนามกมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์และพระราชธิดาชื่อพระนางสุขรเทวี แก่พ่อขุนผาเมืองนอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและการวางระบบชลประทานเพื่อนำน้ำมาใช้ในเมืองสุโขทัยแล้ว กล่าวได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงมีส่วนในการพระราชทานทรัพย์สิน สิ่งของและช่างฝีมือแก่ผู้นำของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัยบรรลุผลสำเร็จ
หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก การเมืองไม่มีเสถียรภาพมีความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้งการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรเขมร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็นอย่างดีจึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ในช่องว่างแห่งอำนาจนี้
การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาศัยกำลังทางทหารและการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแลดินแดนที่ได้มา ทำให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการปกครองอย่างมากการที่อาณาจักรยังคงดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นำ ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมาไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์ อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยงๆและแตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้นถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชราที่ 1 (พ.ศ.-1890 - 1912) พระองค์ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกโดยใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้กลับเข้ามารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งแต่พระเจ้าลิไทก็ทรงประสบความสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น
ในปี พ.ศ.1921 สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา อยู่ประมาณ10 ปีจึงสมารถกลับมาเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ.1931และได้เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาบาลและพระยารามพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่3จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในทำให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้อยุธยาได้แบ่งอาณาจักรของสุโขทัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญและอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่อีก ส่วนหนึ่งมีเมืองกำแพงแพชร เป็นเมืองศูนย์กลาง
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ทรงสถาปนาให้พระราเมศวรพระราชโอรสซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่ายพระราชมารดาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา
สภาพเศรฐกิจและสังคม
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตรเป็นหลัก โดยมีการค้าและการทำเครื่องสังคโลกเป็นส่วนประกอบสำคัญ จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่ได้ค้นพบและศึกษาค้นคว้ากันมาเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยน่าจะมีเพียงแค่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น มิได้มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกและการเป็นศูนย์การค้ามากเท่ากับอาณาจักรอยุธยาซึ่งมีอาณาบริเวณอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่อุดมสมบูรณ์มากนี้เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่สามารถมีอำนาจทางการเมืองอยู่ได้เป็นเวลานาน
สังคมการเกษตร
การเกษตรอาณาจักรสุโขทัยมีสภาพพื้นที่ราบที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น2 ลักษณะ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มที่สำคัญ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำ ซึ่งมีอาณาบริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เรื่อยลงมาจนถึงนครสวรรค์พื้นที่แถบนี้มีลักษระเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และเนื่องจากลำน้ำยมและลำน้ำน่านมีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลบ่ามาจากภูเขาทางภาคเหนือ ทำให้การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่ทันยังผลให้มีน้ำท่วมที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านนี้ ซึ่งบริเวณนี้ควรจะทำการเพาะปลูกได้ดีนี้กลับได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร เป็นพื้นที่ดอน ดินไม่ใคร่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลดีนักจากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกษตรในอาณาจักรสุโขทัยต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยด้วยจุดประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อควบคุมน้ำที่ไหลบ่ามาจากบริเวณภูเขา และน้ำที่ล้นมาตามลำน้ำต่างๆ ให้ไหลไปตามแนวทางควบคุมบังคับที่ทำไว้หรือมิฉะนั้นก็เพื่อเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขาแล้วขุดคลองระบายน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่ทำการ เพาะปลูกเขื่อนเก็บกักน้ำที่สร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ทางชลประทานในสมัยสุโขทัยคือเขื่อนสรีดภงด์ หรือทำนบพระร่วงเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่สร้างอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย นอกจากทำนบเก็บกักน้ำแล้วยังมีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่งน้ำเป็นแนวยาวตั้งแต่ศรีสัชนาลัยผ่านสุโขทัยออกไปถึงกำแพงเพชรด้วยระบบชลประทานดังกล่าวข้างต้นทำให้ผืนดินโดยรอบเมืองสุโขทัยพื้นที่ระหว่าง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกำแพงเพชร เป็นผืนดินอันกว้างใหญ่ที่ใช้ทำการเพาะปลูกได้
พืชสำคัญที่ปลูกกันมากในอาณาจักรสุโขทัยจนกลายเป็นพืชหลัก คือ ข้าวรองลงมา ได้แก่มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน หมากพลู พืชไร่และไม้ผลอื่นๆ ผลผลิตที่ได้คงมีปริมาณเพียงแค่การบริโภคภายในอาณาจักรเท่านั้น และคงจะไม่อุดมสมบูรณ์ถึงขั้นที่จะเลี้ยงประชากรจำนวนมาก ๆได้ในด้านรัฐบาลได้สนับสนุนให้ประชาชนทำการเพาะปลูกด้วยการยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้หักร้างถางพงทำการเกษตรในผืนดินต่าง ๆ และที่ดินนั้นยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานได้อีกด้วย ดังปรากฏในความตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า
"สร้างป่าหมากผ่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้..........ใครสร้างได้ไว้แก่มัน""ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายหว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมันช้างขอ ลูกเมียเยียข้าวไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น"
การที่ต้องลงทุนจัดระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ ทางการเกษตรของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่จะสามารถกักเก็บไว้ได้นานเพียงไหน และความสามารถในการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ผลผลิตทางการเกษตรจึงไม่ใช่ผลผลิตที่คงที่ บางครั้งสุโขทัยต้องสั่งสินค้าข้าวจากดินแดนทางใต้แถบลพบุรีขึ้นไปเลี้ยงประชากรในอาณาจักร ด้วยเหตุนี้อาณาจักรสุโขทัยจึงไม่มีฐานพลังทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งพอที่จะตั้งตัวเป็นอาณาจักรใหญ่และมีอำนาจอยู่เป็นเวลานานได้
น.ส.ฟาลิดา อาจหาญ ม.4/5 เลขที่ 18
ที่มา : http://www.dopa.go.th/history/suk.htm
ลักษณะการปกครอง
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดาจะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยยาก
อาณาเขต
สุโขทัย ตั้งอยู่ทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่อยู่ห่างจากนครธมหรือ พระนครหลวงราชธานีของอาณาจักรเขมรมากพอควรอำนาจทางการเมืองของเขมรที่แผ่มาถึงอาณาบริเวณนี้ จึงมีไม่มากเท่ากับทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยเหตุนี้สุโขทัยจึงมีโอกาสที่จะก่อร่างสร้างอาณาจักรได้มากกว่า และได้ก่อนกลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างนอกจากนั้น ในช่วงระยะที่ชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากำลังแผ่ขยายตัวและเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นนั้น ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร พระองค์ทรงมีนโยบายแผ่ขยายอำนาจขึ้นไปทางเหนือของอาณาจักรด้วยการทำสงครามกับอาณาจักรจามปา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสงครามยืดเยื้อ
การที่ต้องพะวงกับการทำสงคราม ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยควบคุมดูแลดินแดนทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งเป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่ออาณาจักรเขมรในแง่ยุทธศาสตร์เพราะสามารถเข้าถึง กรุงยโสธรหรือนครธมเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรได้อย่างง่ายดายทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงไม่สามารถจัดการกับการแผ่ขยายบทบาททางการเมืองของชนชาติไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มที่ เมื่อไม่มีทางเลือกพระองค์ก็ต้องทรงสนับสนุนการก่อร่างสร้างเมืองของคนไทยกลุ่มนี้ในฐานะผู้ใหญ่ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้น้อย เพื่อผูกพันบ้านเมืองที่กำลังจะเริ่มเติบโตให้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเขมรในลักษณะของผู้ที่พึ่งพิง ดังจะเห็นได้จากการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชทานพระขรรค์ชัยศรีพระนามกมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์และพระราชธิดาชื่อพระนางสุขรเทวี แก่พ่อขุนผาเมืองนอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากการวางผังเมืองและการวางระบบชลประทานเพื่อนำน้ำมาใช้ในเมืองสุโขทัยแล้ว กล่าวได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่7 ทรงมีส่วนในการพระราชทานทรัพย์สิน สิ่งของและช่างฝีมือแก่ผู้นำของคนไทยในเขตตอนบนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยเหลือให้การสร้างเมืองสุโขทัยบรรลุผลสำเร็จ
หลังสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาณาจักรเขมรได้เสื่อมลงมาก การเมืองไม่มีเสถียรภาพมีความวุ่นวายเกิดขึ้นบ่อยครั้งการเสื่อมอำนาจของอาณาจักรเขมร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์อำนาจทางการเมืองที่สำคัญยิ่งของดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองสุโขทัยซึ่งได้ก่อร่างสร้างเมืองมาแล้วเป็นอย่างดีจึงสามารถก่อตั้งอาณาจักรของตนขึ้นมาได้ในช่องว่างแห่งอำนาจนี้
การขยายอาณาเขตในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาศัยกำลังทางทหารและการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีการจัดระบบการปกครองที่รัดกุมในการควบคุมดูแลดินแดนที่ได้มา ทำให้บรรดาหัวเมืองชั้นนอกมีอิสระในการปกครองอย่างมากการที่อาณาจักรยังคงดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถส่วนตัวของผู้นำ ดังนั้นเมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์สืบต่อมาไม่มีความสามารถเท่ากับพระองค์ อาณาจักรจึงแตกสลายออกเป็นเสี่ยงๆและแตกแยกเป็นเมืองเล็กเมืองน้อย ครั้นถึงรัชสมัย พระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชราที่ 1 (พ.ศ.-1890 - 1912) พระองค์ทรงพยายามรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกออกโดยใช้ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเมืองเหล่านี้ให้กลับเข้ามารวมอยู่กับอาณาจักรสุโขทัยอีกครั้งหนึ่งแต่พระเจ้าลิไทก็ทรงประสบความสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น
ในปี พ.ศ.1921 สุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยา อยู่ประมาณ10 ปีจึงสมารถกลับมาเป็นอิสระอีกครั้งในปี พ.ศ.1931และได้เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระยาบาลและพระยารามพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่3จึงเปิดโอกาสให้อยุธยาเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในทำให้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยาอีกครั้งหนึ่งโดยในครั้งนี้อยุธยาได้แบ่งอาณาจักรของสุโขทัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งมี เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองสำคัญและอยู่ในฐานะเมืองหลวงแห่งใหม่อีก ส่วนหนึ่งมีเมืองกำแพงแพชร เป็นเมืองศูนย์กลาง
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ได้ทรงสถาปนาให้พระราเมศวรพระราชโอรสซึ่งทรงมีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทางฝ่ายพระราชมารดาเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอาณาจักรสุโขทัยจึงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ซึ่งนับเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัยตั้งแต่นั้นมา
สภาพเศรฐกิจและสังคม
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
อาณาจักรสุโขทัยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจอยู่ที่การเกษตรเป็นหลัก โดยมีการค้าและการทำเครื่องสังคโลกเป็นส่วนประกอบสำคัญ จากหลักฐานต่าง ๆ เท่าที่ได้ค้นพบและศึกษาค้นคว้ากันมาเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยน่าจะมีเพียงแค่พอกินพอใช้ในอาณาจักรเท่านั้น มิได้มีความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มากเท่ากับอาณาจักรอยุธยา ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของอาณาจักรสุโขทัยไม่เอื้อต่อการเพาะปลูกและการเป็นศูนย์การค้ามากเท่ากับอาณาจักรอยุธยาซึ่งมีอาณาบริเวณอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่อุดมสมบูรณ์มากนี้เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่สามารถมีอำนาจทางการเมืองอยู่ได้เป็นเวลานาน
สังคมการเกษตร
การเกษตรอาณาจักรสุโขทัยมีสภาพพื้นที่ราบที่ใช้ในการเพาะปลูกแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น2 ลักษณะ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบเชิงเขา บริเวณที่ราบลุ่มที่สำคัญ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำ ซึ่งมีอาณาบริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย เรื่อยลงมาจนถึงนครสวรรค์พื้นที่แถบนี้มีลักษระเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่และเนื่องจากลำน้ำยมและลำน้ำน่านมีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลบ่ามาจากภูเขาทางภาคเหนือ ทำให้การระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างไม่ทันยังผลให้มีน้ำท่วมที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านนี้ ซึ่งบริเวณนี้ควรจะทำการเพาะปลูกได้ดีนี้กลับได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและทางทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร เป็นพื้นที่ดอน ดินไม่ใคร่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลดีนักจากสภาพภูมิศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกษตรในอาณาจักรสุโขทัยต้องใช้ระบบชลประทานเข้ามาช่วยด้วยจุดประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อควบคุมน้ำที่ไหลบ่ามาจากบริเวณภูเขา และน้ำที่ล้นมาตามลำน้ำต่างๆ ให้ไหลไปตามแนวทางควบคุมบังคับที่ทำไว้หรือมิฉะนั้นก็เพื่อเก็บกักน้ำไว้ภายในหุบเขาแล้วขุดคลองระบายน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่ทำการ เพาะปลูกเขื่อนเก็บกักน้ำที่สร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ทางชลประทานในสมัยสุโขทัยคือเขื่อนสรีดภงด์ หรือทำนบพระร่วงเป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่สร้างอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองสุโขทัย นอกจากทำนบเก็บกักน้ำแล้วยังมีการสร้างเหมืองฝายและขุดคูคลองส่งน้ำเป็นแนวยาวตั้งแต่ศรีสัชนาลัยผ่านสุโขทัยออกไปถึงกำแพงเพชรด้วยระบบชลประทานดังกล่าวข้างต้นทำให้ผืนดินโดยรอบเมืองสุโขทัยพื้นที่ระหว่าง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกำแพงเพชร เป็นผืนดินอันกว้างใหญ่ที่ใช้ทำการเพาะปลูกได้
พืชสำคัญที่ปลูกกันมากในอาณาจักรสุโขทัยจนกลายเป็นพืชหลัก คือ ข้าวรองลงมา ได้แก่มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน หมากพลู พืชไร่และไม้ผลอื่นๆ ผลผลิตที่ได้คงมีปริมาณเพียงแค่การบริโภคภายในอาณาจักรเท่านั้น และคงจะไม่อุดมสมบูรณ์ถึงขั้นที่จะเลี้ยงประชากรจำนวนมาก ๆได้ในด้านรัฐบาลได้สนับสนุนให้ประชาชนทำการเพาะปลูกด้วยการยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้หักร้างถางพงทำการเกษตรในผืนดินต่าง ๆ และที่ดินนั้นยังเป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานได้อีกด้วย ดังปรากฏในความตอนหนึ่งของศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า
"สร้างป่าหมากผ่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้..........ใครสร้างได้ไว้แก่มัน""ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายหว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมันช้างขอ ลูกเมียเยียข้าวไพร่ฟ้าข้าไทป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น"
การที่ต้องลงทุนจัดระบบชลประทานเพื่อการเพาะปลูก ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ ทางการเกษตรของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่จะสามารถกักเก็บไว้ได้นานเพียงไหน และความสามารถในการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ผลผลิตทางการเกษตรจึงไม่ใช่ผลผลิตที่คงที่ บางครั้งสุโขทัยต้องสั่งสินค้าข้าวจากดินแดนทางใต้แถบลพบุรีขึ้นไปเลี้ยงประชากรในอาณาจักร ด้วยเหตุนี้อาณาจักรสุโขทัยจึงไม่มีฐานพลังทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งพอที่จะตั้งตัวเป็นอาณาจักรใหญ่และมีอำนาจอยู่เป็นเวลานานได้
น.ส.ฟาลิดา อาจหาญ ม.4/5 เลขที่ 18
ที่มา : http://www.dopa.go.th/history/suk.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)